ชื่อพืช คุย
ชื่ออื่น ยาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Willughbeia edulis Roxb.
ชื่อวงศ์ Apocynaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง รอเลื้อยขนาดใหญ่ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวขุ่น
ใบเดีย่ ว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 เซนติเมตร
ยาว 10-14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ดอกช่อแบบ
ช่อกระจุก มีดอกย่อย 5-6 ดอก กลีบดอกเชือ่ มติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น
5 แฉก สีขาวปนสีเหลือง เรียงบิดเวียนแบบขวาทับซ้าย เกสรเพศผู้มี 5 อัน
เกสรเพศเมีย รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ ผลเดี่ยวแบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลม
หรือรูปไข่ เปลือกผลค่อนข้างหนา สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองถึงส้ม เนื้อผลลื่นติด
กั บ เมล็ ด เปลื อ กหุ้ ม ผลมี น้ำ ยางสี ข าวข้ น พบตามป่ า ดิ บ แล้ ง ป่ า ดิ บ ชื้ น
ป่าเบญจพรรณ
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ลำต้นผสมลำต้นม้ากระทืบโรง ต้มน้ำดื่ม บำรุง
กำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือก รักษาอาการปวดศีรษะ ราก ต้มกินรักษา
โรคบิด น้ำยางใช้ทำกาวดักจับแมลงได้ ผลสุก มีรสเปรี้ยวอมหวาน รับประทานได้
หล่อลื่นลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
ตำรายาไทย เถา แก้ลมขัดในข้อ ในกระดูก แก้มือเท้าอ่อนเพลีย
ต้มดื่มแก้บิด แก้ตับพิการ แก้คุดทะราด ราก แก้มือเท้าอ่อนเพลีย ต้มดื่มแก้
โรคบิด แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ยาง รสฝาด
ร้อน ทาแผล แก้คุดทะราด ผลดิบ รสเปรี้ยวฝาด ผลแห้งย่างไฟ บดทาแผล
ช่วงที่ออกดอก กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม
ช่วงที่ออกผล กรกฎาคม ถึง กันยายน
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น