การนำยาสมุนไพรมาใช้รักษาโรคแทนยาปัจุบัน - สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย

ข้อมูลสมุนไพรไทย ตำรับยาสมุนไพร วิธีการใช้สมุนไพร บทความสุขภาพ

สมุนไพรไทย

Lastest

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

การนำยาสมุนไพรมาใช้รักษาโรคแทนยาปัจุบัน

การนำสมุนไพรไทย ที่มีสรรพคุณที่ได้รับการวิจัยมาแล้วว่าสามารถรักษาหรือบรรเทาโรคบางประเภทได้ โดยในปัจจุบันโรงยาบาลต่างๆ ได้มีแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและได้ทำการจ่ายยาสมุนไพร ในสูตรต่างๆ เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการ และใช้การจ่ายยาสมุนไพรแทนการใช้ยาวิทยาศาสตร์ หรือ ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งได้ผลดี ถือว่าเป็นนววัตกรรมทางการแพทย์ที่นำสมุนไพรมาทำเป็นยารักษาโรค ซึ่งตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้ในโรงพยาลมีดังนี้


1.ยาขมิ้นชัน 450mg./cap.



ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Simethicone 80 mg ,Sodamint 300 mg, M. carminative


ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย 

โรคกระเพาะอาหาร


ปริมาณการใช้ : 1-2cap*3pc


ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : **ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตันหรือผู้ที่ไวต่อยานี้

ข้อควรระวัง -ระวังใน Pt โรคนิ่วในถุงน้ำดี, หญิงตั้งครรภ์, ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์

-ระวังการใช้ในเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลประสิทธิผล

-ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets



2.ยาธาตุอบเชย 180 ซี.ซี



ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : M. carminative


ข้อบ่งใช้ : แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง


ปริมาณการใช้ :15 ml*3 pc

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : *ระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้



3.ยาธาตุบรรจบ 450 mg./cap. 



ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Loperamide 2 mg.

ข้อบ่งใช้ : ใช้ในคนไข้อุจจาระธาตุพิการ ท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ถ่ายอุจจาระยาก เป็นก้อนเล็กๆ

ปริมาณการใช้ : 2cap*3 ac


ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

**ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง-ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets

-ระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

-ในกรณีท้องเสีย ใช้ไม่เกิน 1 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย



4.ยาฟ้าทะลายโจร 400mg./cap.




ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Paracetamol 500 mg.

Serratiopeptidase 5 mg.

Loperamide 2 mg.

ข้อบ่งใช้ : เจ็บคอ มีอาการไขหวัด ท้องเสียไม่ติดเชื้อ

ปริมาณการใช้ : 3-4 cap *4pc


ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

**ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดทารกวิรูปได้

**ห้ามใช้กรณีเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Sreptococcus A

-pt ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค

ข้อควรระวัง -ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets

-ระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันอาจเสริมฤทธิ์กันได้

*ไม่ควรทานเกิน 7 วัน **หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้แขนขามีอาการชาอ่อนแรง



5. ยามะระขี้นก 450mg./cap. 



ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Paracetamol 500 mg.

ข้อบ่งใช้ :  แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร

ปริมาณการใช้ : 1cap*3opc

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

**ห้ามใช้ในเด็กหรือหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักในเด็กได้

ข้อควรระวัง

-ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

-ระวังการใช้ ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานหรือร่วมกับการฉีดอินสุลินอาจเสริมฤทธิ์กันได้

อาการไม่พึงประสงค์ คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือ ปลายเท้า ชักในเด็ก ท้องเดิน ปวดศีรษะ 1.เฉพาะแพทย์ทั่วไป แพทย์แผนไทย




6.ยาห้าราก 450mg./cap. 

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Paracetamol 500mg

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการไข้ ตัวร้อน

ปริมาณการใช้ : 3cap*3 ac

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

ข้อควรระวัง-ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

-หากใช้ยาเกิน 3 วันแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

** ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ระหว่างมีประจำเดือน 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย




7.ยาจันทลีลา 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Paracetamol 500mg.

NSAIDs.

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ใช้ได้กรณีการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย

ปริมาณการใช้ :  2 cap prn q4hr.

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

ข้อควรระวัง-ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

-หากใช้ยาเกิน 3 วันแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย



8.ยาสหัสธารา 500mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Orphenadrine+Paracetamol 35+450mg , ยากลุ่มNSIADs เช่น Diclofenac 25mg ,

 Vitamin B 1-6-12

ข้อบ่งใช้ : อาการปวดกล้ามเนื้อ ในกรณี Osteoarthritis ,Peripheral neuropathy  แก้อาการชาปลายมือปลายเท้า


ปริมาณการใช้ : 2cap*3 ac


ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

**ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง -ระวังใน pt HT,HD,Peptic ulcer,Gerd

-ระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต 

-ระวังการใช้ร่วมกับยา phenytion propranolol theophylline and rifampicin 

เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

อาการไม่พึงประสงค์ ร้อนท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ คอแห้ง ผื่นคัน 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย



9.ยาธรณีสันทฆาต 500mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Bisacodyl 5mg ,Milk of Magnesia

ข้อบ่งใช้ : ใช้ในคนไข้ที่มีอาการท้องผูก และมีอาการปวดเมื่อย ท้องเป็นเถาเป็นดาน

ปริมาณการใช้ : 2 cap hs

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

**ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง -ระวังใน pt HT,HD,Peptic ulcer,Gerd

-ระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต 

-ระวังการใช้ร่วมกับยา phenytion propranolol theophylline and rifampicin 

เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

อาการไม่พึงประสงค์ ร้อนท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ คอแห้ง ผื่นคัน

เพิ่มเติม –ระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย




10.ยาผสมเพชรสังฆาต450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Daflon, Siduol

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการริดสีดวงทวารและเป็นยาระบาย โดยไม่ต้องใช้ยาระบายร่วมด้วย

ปริมาณการใช้ :2cap*3 pc **หลังอาหารทันที

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

ข้อควรระวัง การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

อาการไม่พึงประสงค์ ท้องเสีย มวนท้อง




11.ยาบำรุงโลหิต ยาผง 15 กรัม/ซอง


ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Ferrous Sulfate Ferrous Fumarate

ข้อบ่งใช้ :  1 กรัม(1ช้อนชา)*2 ac

ปริมาณการใช้ : บำรุงโลหิต (ใช้ในคนไข้หลังจากการผ่าตัด หรือ ป่วยหนัก หรือป่วยเรื้อรัง โรค hepatitis , liver cirrhosis  ต้องการบำรุงร่างกาย หรือเพิ่มภูมิต้านทานโรค )

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : **ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง

-ระวังในผู้ที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้

-ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets



12.ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม 60 cc.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Bromhexine Acetylcysteine

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

ปริมาณการใช้ : 15 ml*3 pc หรือ จิบเมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : **ห้ามใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ข้อควรระวัง –การใช้ในผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมีมะขามป้อมฤทธิ์เป็นยาระบาย



13.ยาประสะไพล 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Mefenamic  acid  250mg

ข้อบ่งใช้ : 1.แก้ระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ 

2.บรรเทาอาการปวดประจำเดือน 

3.ขับน้ำคาวปลา

4.กระตุ้นน้ำนม

ปริมาณการใช้ : 2cap*3 ac 

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : *กรณีระดูไม่สม่ำเสมอทาน 3-5 วันเมื่อระดูมาให้หยุด

*กรณีปวดประจำเดือน ทานก่อนมีระดู 2-3 วัน จนถึงวันที่ 2 ที่มีระดู

*กรณีขับน้ำคาวปลา ทานจนกว่าน้ำคาวปลาจะหมด แต่ไม่เกิน 15 วัน ** ห้ามใช้ไนหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

**ห้ามใช้ในหญิงที่มามากกว่าปกติเพราะจะทำให้มีการขับระดูออกมามากขึ้น

ข้อควรระวัง

-ระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้



14.น้ำมันไพล 18 cc.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Analgesic  balm

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ปริมาณการใช้ : ทาถูบริเวณที่มีอาการวันละ2-3 ครั้ง -ห้ามทาบริเวณขอบตา,เนื้อเยื่ออ่อน

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : -ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล



15.ชาชงรางจืด  2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  -

ข้อบ่งใช้ : ลดระดับสารเคมีตกค้างในเลือด ถอนพิษเบื่อเมา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดอาการที่เกิดจากการเมาสุรา

ปริมาณการใช้ : 1 ถุง แช่น้ำร้อน 200 cc *3 oac prn  5ถุงแช่น้ำร้อน 200 cc*3-5 oac prn

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : 

ข้อควรระวัง 

–ระวังใน pt DM อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

-ระวังการใช้ใน pt ที่ต้องใช้ยาอื่นอย่างต่อเนื่อง เพราะยารางจืด อาจเร่งการขับยา เหล่านั้นออกจากร่างกายทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง


16.ชาชงมะขามแขก 2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง 

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Bisacodyl 5mg Milk of magnesia

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการท้องผูก

ปริมาณการใช้ : 1 ถุง แช่น้ำร้อน 200 cc ดื่มก่อนนอน

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : **ห้ามใช้ใน pt gastrointestinal obstruction 

ข้อควรระวัง –ระวังในเด็กต่ำกว่า 12 ปี หรือใน pt inflammatory bowel disease

-การรับประทานยาในขนาดสูง อาจทำให้เกิด nephritis

-ระวังในหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร 

อาการไม่พึงประสงค์ ปวดมวนท้อง ผื่นคัน



17.ชาชงหญ้าดอกขาว 2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  -

ข้อบ่งใช้ : ลดความอยากบุหรี่

ปริมาณการใช้ : 1 ถุง แช่น้ำร้อน 200 cc  *3 pc hs

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข้อควรระวัง 

ระวังในผู้ที่เป็นโรคไต และโรคหัวใจ เนื่องจากหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง

อาการไม่พึงประสงค์ ปากแห้ง คอแห้ง


18.ยาขิง แคปซูล 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Simethicone 80mg,M.carminative Dimenhydranate

ข้อบ่งใช้ : ท้องอืด ท้องเฟ้อ เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เมารถ เมาเรือ

ปริมาณการใช้ : 2cap*3 opc

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข้อควรระวัง  

-ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets

-ระวังใน Pt โรคนิ่วในถุงน้ำดี

อาการไม่พึงประสงค์

แสบร้อนบริเวณทางเดินอาหาร ระคายเคืองปากและคอ


19.ยาขิง ชาชง 2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง

1ถุง ชงน้ำร้อน 100cc*3 opc

(เหมือนขิงชนิดแคปซูล)




20.ยาหอมเทพจิต 15 กรัม/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Dimenhydrinate 50mg Cinnarizine 25mg

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการเวียนศีรษะ แก้จุกเสียด

ปริมาณการใช้ : 1-2 ชช.ละลายน้ำ   1แก้วดื่ม*3 ac

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

ข้อควรระวัง  -ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets

-ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้ 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย



21.ยาหอมนวโกศ 15 กรัม/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Dimenhydrinate 50mg Cinnarizine 25mg

ข้อบ่งใช้ : แก้วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับและเจ็บเสียวในหัวใจ

ปริมาณการใช้ : 1-2 ชช.ละลายน้ำ   1แก้วดื่ม*3 ac

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง  -ระวังการใช้ร่วมกับ anticoagulants , antiplatelets

-ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้



22.ยาไฟห้ากอง  500mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : 

ข้อบ่งใช้ : 

ปริมาณการใช้ :

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ :

ขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ 2 cap*3 ac จนกว่าน้ำคาวปลาจะหมดแต่ไม่เกิน 15 วัน ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์และผู้มีไข้

ห้ามใช้ในหญิงผ่าคลอดเนื่องจากจะทำให้แผลหายช้า 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย




23.ยาเขียวหอม15 กรัม/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Paracetamol 500mg

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้พิษหัด แก้พิษอีสุกอีใส

ปริมาณการใช้ : 1-2 ชช. ละลายน้ำ       1 แก้ว*3 ac & hs

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข้อควรระวัง -ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

-หากใช้ยาเกิน 3 วันแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

-ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้



24.ยาประสะมะแว้ง Bromhexine 

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Acetylcysteine

ข้อบ่งใช้ :  บรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ

ปริมาณการใช้ : อมครั้งละ 3-5 เม็ด เมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข้อควรระวัง

-ไม่ควรใช้ติดต่อนากเกิน 15 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

25.ยาปราบชมพูทวีป 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Antihistamine 

ข้อบ่งใช้ :  ใช้ใน case allergic rhinitis ,asthma ,allergic bronchitis

ปริมาณการใช้ : 2-3*3  ac & hs

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีไข้ เด็ก

ข้อควรระวัง -ระวังใน pt HT,HD,Peptic ulcer,Gerd

-ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้

-ระวังการใช้ร่วมกับยา phenytion propranolol theophylline and rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

อาการไม่พึงประสงค์ แสบร้อนยอดอก 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย


26.ยาอำมฤควาที 15 กรัม/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Bromhexine ,Acetylcysteine

ข้อบ่งใช้ :  บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

ปริมาณการใช้ : ผู้ใหญ่ 1 g ละลายน้ำเมื่อมีอาการ เด็ก 500 mg ละลายน้ำเมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย


27.ยาเถาวัลย์เปรียง 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Orphenadrine+paracetamol 35/450 mg,Tolperisone 50 ยากลุ่ม NSAIDs เช่น Diclofenac 25mg

ข้อบ่งใช้ :  บรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ

ปริมาณการใช้ : 2cap*3 oac & hs

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

ช้อควรระวัง –ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร

อาการไม่พึงประสงค์  ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง และใจสั้น


28.ยาเจลพริก

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Analgesic  Balm

ข้อบ่งใช้ :  บรรเทาอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ

ปริมาณการใช้ : ทาบริเวณที่ปวด 3-4 ครั้งต่อวัน

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ capsaicin

ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน

ข้อควรระวัง-การใช้ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ กลุ่ม ACE inhibitor อาจทำให้ไอเพิ่มขึ้น

อาการไม่พึงประสงค์ ผิวหนังแดง ปวด และแสบร้อน 1.เฉพาะแพทย์ทั่วไป แพทย์แผนไทย


29.ยาไพล ยาครีม

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Analgesic Balm

ข้อบ่งใช้ : ทาภายนอกเพื่อลดอาการอักเสบกล้ามเนื้อ

ปริมาณการใช้ : ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน

ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด


30.ยาประคบสมุนไพร สด/แห้ง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Analgesic  Balm

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ   ลดอาการอักเสบบวมของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด

ปริมาณการใช้ : ประคบบริเวณที่ปวด เวลามีอาการ ห้ามประคบบริเวณที่มีแผล

ห้ามประคบเมื่อเกิดการอักเสบเฉียบพลัน เช่น มีอาการบวม แดงร้อน ใน 24 ชั่วโมงแรก

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข้อควรระวัง –ระวังลูกประคบที่ร้อนเกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน เด็ก อัมพาตและผู้สูงอายุ

-หลังประคบเสร็จใหม่ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปล้างตัวยา และร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เป็นไข้ได้

   



31.ยาเบญจกูล 450mg./cap.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Simethicone80mg,M.carminative Diagest

ข้อบ่งใช้ :  บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย

ปริมาณการใช้ : 2 cap*3 ac

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ เด็ก

ข้อควรระวัง

-ไม่ควรใช้ยานี้ในฤดูร้อน จะส่งผลให้ธาตุไฟกำเริบ

-ไม่ควรทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน 3.เฉพาะแพทย์แผนไทย


32.ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง 

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน : Miconazole Cream

ข้อบ่งใช้ :  ทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา น้ำกัดเท้า

ปริมาณการใช้ : ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน

ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด


33.ยาบัวบก ยาครีม

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  -

ข้อบ่งใช้ : ใช้สมานแผล

ปริมาณการใช้ : ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1-3 ครั้งหรือตามแพทย์สั่ง

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

ห้ามใช้ในแผลเปิด

-หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

อาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้


34.ยาพญายอครีม

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Acyclovir  Cream Herpes Simplex

ข้อบ่งใช้ :   บรรเทาอาการเริม งูสวัด

ปริมาณการใช้ : ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง (ทุก 4 ชั่วโมง)

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : -


35.ยาพญายอ     กลีเซอรีน 10 cc.

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  Acyclovir oral paste Triamcinolone oral paste

ข้อบ่งใช้ :  เริมที่ปาก รักษาแผลร้อนใน(ปาก)

ปริมาณการใช้ : ป้ายแผลบริเวณปากบางๆวันละ 5 ครั้ง

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ข




36.ชาชงกระเจี้ยบ แดง 2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  -

ข้อบ่งใช้ :  ปัสสาวะกระปริดกระปรอย

ปริมาณการใช้ : 1 ซองแช่น้ำร้อน 120-200cc*3 pc

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

ข้อควรระวัง อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

อาการไม่พึงประสงค์ อาจมีอาการปวดมวนท้องได้




37.ชาชงหญ้าหนวดแมว 2กรัม/ถุง 20ถุง/ซอง

ทดแทนยาแผนปัจจุบัน :  -

ข้อบ่งใช้ : แก้ขัดเบา ชะล้างทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วขนาดเล็ก

ปริมาณการใช้ : 1 ซองแช่น้ำร้อน 120-200 cc ดื่ม 2-3 ครั้ง/วัน

ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง/หมายเหตุ : ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของหัวใจและ/หรือไตบกพร่อง

ข้อควรระวัง-ผู้ที่เป็นโรคไต และโรคหัวใจ เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโพแทสเซียมสูง

-ระวังการใช้ ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานหรือร่วมกับการฉีดอินสุลินอาจเสริมฤทธิ์กันได้


หมายเหตุ :

การซื้อยาสมุนไพรมาทานเอง เพื่อรักษาโรคควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ ถึงวิธีการใช้ ความปลอดภัย และวิธีการรับประทาน


เอกสารอ้างอิง กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

โรงพยาบาลอุดรธานี


นางสาวกาญจนา  อัมวรรณ์  ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย

นายอนุชิต พิทักษ์ทิม  ตำแหน่ง เภสัชกร ชำนาญการ

29-10-2556






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here