หมี่-Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Robinson. - สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย

ข้อมูลสมุนไพรไทย ตำรับยาสมุนไพร วิธีการใช้สมุนไพร บทความสุขภาพ

สมุนไพรไทย

Lastest

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

2564-09-14

หมี่-Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Robinson.

 ชื่อพืช          หมี่

ชื่ออื่น         หมีเหม็น

ชื่อวิทยาศาสตร์   Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Robinson.

ชื่อวงศ์         Lauraceae


สมุนไพรหมี่




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ไม้ยนื ต้น ใบเดีย่ ว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ หรือ

ค่อนข้างกลม มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง กว้าง 5-9 เซนติเมตร ยาว

10-20 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน เนื้อใบค่อนข้างหนา

มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกช่อซี่ร่มออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อย

สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปเหลือ

1-2 กลีบ หรือไม่มเี ลย เกสรตัวผูม้ ี 9-20 อัน ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมลดรูปเหลือ

เพียงเล็กน้อย หรือไม่มี ผลสดรูปทรงกลม ผิวมัน เรียบ ผลอ่อนสีเขียว แก่สีม่วง

เข้มเกือบดำ มีเมล็ดเดียวแข็ง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ

สรรพคุณ

            ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ราก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ฝนทาฝี

เปลือก ฝนทาแก้ฝี ใบ ใช้สระผม ย้อมผ้าให้สีเขียว ใช้ทำกระทงห่อขนมตาล

            ตำรายาไทย ใช้ใบ ขยี้กับน้ำ สระผม พอกศีรษะ ฆ่าเหา ขับปัสสาวะ

แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ใบและเมล็ด มีรสฝาดเฝือ่ น ตำพอกฝี แผลหนอง

แก้ปวด ราก เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน

แก้ บิ ด ท้ อ งเสี ย แก้ ป วดมดลู ก แก้ เ จ็ บ ปวดตามกล้ า มเนื้ อ ฝนทาแก้ พิ ษ

แมลงกัดต่อย ผื่นคันแสบร้อน บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ

ใบ ผลดิบ ให้น้ำมันเป็นยาถูนวดแก้ปวด ผลสุก กินได้ เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี

ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อ ยาง มีรสฝาดร้อน ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม

            ช่วงที่ออกดอก            พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม

            ช่วงที่ออกผล กรกฎาคม ถึง สิงหาคม

Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here