ชื่อพืช รากสามสิบ
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus racemosus Willd.
ชื่อวงศ์ Asparagaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น
มีเหง้าและรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวง อวบน้ำ เป็นเส้น
กลมยาว ใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็ก ๆ คล้ายหางกระรอก สีเขียวดก
หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว
3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ช่อดอกแบบช่อกระจะ
ดอกย่อย สีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม มี 12-17 ดอก กลีบรวม มี 6 กลีบ เชื่อม
กันเป็นหลอด กลีบดอกบางและย่น เกสรเพศผู้ เชือ่ มและอยูต่ รงข้ามกลีบรวม ขนาด
เล็กมี 6 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลสด ค่อนข้างกลม หรือเป็น 3 พู ผิวเรียบ
เป็นมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงหรือ
ม่วงแดง เมล็ดสีดำ มี 2-6 เมล็ด พบตามป่าโปร่ง หรือเขาหินปูน
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน ใช้ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับลม
ตำรายาไทย ใช้ราก ซึ่งมีรสเย็น หวานชุ่ม ใช้แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ
และขับเสมหะ บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอด แก้ตับปอดพิการ บำรุงกำลัง ต้น
หรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ
แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี
พิ ษ ปวดแสบปวดร้ อ น ผสมกั บ เหง้ า ขิ ง ป่ า และต้ น จั น ทน์ แ ดงผสมเหล้ าโรง
ใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก
ผล มีรสเย็น ปรุงเป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ มักใช้ร่วมกับผล
ราชดัด เพื่อดับพิษไข้จากบิดเรื้อรัง
ช่วงที่ออกดอกและติดผล มิถุนายน ถึง กรกฎาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น