ชื่อพืช รักใหญ่
ชื่ออื่น น้ำเกลี้ยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gluta usitata (Wall.) Ding Hou.
ชื่อวงศ์ Anarcardiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง
ใบรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3.5-12 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร
แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง มักทิ้งใบ
ก่อนออกดอก ดอกเริม่ บานจากสีขาว แล้วเปลีย่ นเป็นสีชมพูและแดงสด ดอกย่อยจำนวน
มาก กลีบดอกสีขาวมีแถบสีเหลืองแกมเขียวตรงกลาง กลีบดอก 5-6 กลีบ ในดอกแก่
กลีบเลี้ยงรูปร่างคล้ายหมวก สีแดง มี 5 กลีบ เกสรเพศผู้ประมาณ 30 อัน ผลแบบผล
ผนังชั้นในแข็ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มีส่วนของกลีบดอกที่
ขยายเป็นปีก ที่โคนก้านผลสีแดง มี 5 ปีก รูปขอบขนาน ระหว่างโคนปีกกับผลมีก้าน
เชื่อมยาว 1.5 เซนติเมตร ปีกยาว 5-10 เซนติเมตร มีเส้นปีกชัดเจน พบขึ้นกระจาย
ทั่วไป ในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้าโล่ง เขาหินปูน
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้เปลือกต้น ต้มน้ำดืม่ แก้กามโรค บิด ท้องร่วง ปวดข้อเรือ้ รัง
เข้ายาบำรุงกำลัง ขับเหงื่อ ช่วยให้อาเจียน เป็นยารักษาโรคเรื้อน เปลือกราก แก้ไอ
แก้โรคตับ ท้องมาน พยาธิลำไส้ รักษาโรคผิวหนัง เมล็ด ใช้แก้ปากคอเปื่อย ช่วยย่อย
อาหาร แก้ปวดฟัน แก้คุดทะราด ริดสีดวง แก้อักเสบและปวดไส้เลื่อน น้ำยางสด
มีพิษ ทำให้ผิวหนังอักเสบ และคันมาก เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด ขนจาก
ใบแก่ของรักเป็นพิษต่อผิวหนัง เมื่อถูกผิวหนังทำให้คันทั่วตัว อาจทำให้คันอยู่นานเป็น
เดือน ผิวหนังอาจบวมพอง ชาวบ้านแก้โดยเอาเปลือกและใบสักมาต้มอาบ น้ำยาง
มีประโยชน์ใช้ทำน้ำมันเคลือบเงา น้ำยางใสเมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และเป็น
มัน ใช้ทาไม้รองพื้นสำหรับปิดทอง ในการทำเครื่องเขิน ขั้นตอน “ลงรัก ปิดทอง”
ช่วงที่ออกดอกและติดผล พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น