หมามุ่ย จากวัชพืชในป่า สู่ยอดยารักษาโรค - สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย

ข้อมูลสมุนไพรไทย ตำรับยาสมุนไพร วิธีการใช้สมุนไพร บทความสุขภาพ

สมุนไพรไทย

Lastest

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

2564-09-16

หมามุ่ย จากวัชพืชในป่า สู่ยอดยารักษาโรค

หมามุ่ย

 

หมามุ่ย จากวัชพืชในป่า สู่ยอดยาบำรุง แต่เริ่มเดิมที หมามุ่ยเป็นพืชที่เป็นที่รู้จักในลักษณะเป็นเครือ มีฝักหรือลูกที่เป็นขน หากโดนเข้ากับร่างกายหรือสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ซึ่งเครือหมามุ่ยมันจะอยู่ในป่ารกทึบ มาในภายหลังจากการค้นคว้าวิจัยของนักสมุนไพรไทย พบประโยชน์จากหมามุ่ย ในทางยา จึงได้เริ่มนำหมามุ่ย เป็นยาสมุนไพร ตำรับที่ใช้ในการบำรุงร่างกายชั้นแนวหน้าของสมุนไพรไทยเลยทีเดียว ในปัจจุบันหมามุ่ยกลายเป็นพืชเศรษฐกิจทางการนำมาเป็นยาสมุนไพร ที่ได้รับความนิยม

หมามุ่ย เป็นพืชที่ขึ้นในประเทศเขตร้อน พบได้ทั้งในแถบเอเชีย แอฟริกา หมูเกาะแปซิฟิฟิก มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ  Mucuna pruriens (L.) DC. 

ชื่อวงศ์ Mucuna prurita Hook. และ Fabaceae – Papilionoideae


หมามุ่ยจัดเป็นไม้ล้มลุก เป็นไม้เลื้อย ยาว 3-10 เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบยอย 3 ใบ รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แผ่นใบมีขนสีเทาคลุมทั้งสองดาน ดอกมีสีมวงคล้ำ เปนช่อที่ซอกใบ ยาว 15-30 ซม.


หมามุ่ย



หมามุ่ย


ช่อดอกจะย้อยลง ดอกย้อยมีจํานวนมาก กลีบดอกคลายดอกถั่ว ผลเป็นฝักโค้ง รูปตัวเอส “S” มีขนแข็งและสั้นสีน้ำตาลอมแดง ซึ่งจะหลุดร่วงงายและเป็นพิษ เมล็ดแข็ง รูปรี แบน ผิวเมล็ดเรียบเกลี้ยง สีดํา เป็นมัน (ภายในฝัก มี 4-7เมล็ด) ขนาดความกวาง 0.5 มม. และยาว 1.0 ซม. ขอบเมล็ดบริเวณที่ติดกับฝัก มีเนื้อเยื่อเป็นวงสีขาวโดยรอบบริเวณที่เมล็ดจะงอก กึ่งกลางเมล็ดดานหนึ่งมีรอยบุ๋มลงไปตรงกลาง        ฝักหมามุยขณะยังออนใช้เป็นผักรับประทานได้ ในบางประเทศปลูกไว้เพื่อนําไปเป็นอาหารสัตวมีข้อแนะนําการเก็บฝักหมามุ่ยที่มีขนพิษแล้ว ว่าใหเก็บขณะฝักเปียก จะเก็บง่ายไม่คัน สวนการแกะเมล็ดนั้น ปกติทําได้ยากเพราะตองระวังขน จึงควรนําไปตากแดด ในฝักที่แก่จัดแลว เมื่อแห้งและตากแดดได้ที่แล้ว เมล็ดจะดีดออกมาเอง


หมามุ่ย


ในต่างประเทศ หมามุ่ย ถูกบรรจุไว้ในตำราอายุรเวท ซึ่งเป็นคัมภีย์เก่าแก่โบราณที่สืบทอดกันมานักพันปี ที่เขียนโดย นักอายุเวท ที่เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาโรคแผนโบราณและการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค ได้บรรจุสรรพคุณของหมามุ่ยนี้ไว้ด้วย ส่วนไทยเรานั้นได้นำหมามุ่ยมาใช้เป็นยาสมุนไพรเมื่อไม่นานมานี้เอง

คุณประโยชน์ของหมามุ่ย

ประโยชน์ที่สำคัญของหมามุ่ยคือ มีฤทธิ์ในการรักษาบรรเทาโรคที่มีอาการสั่น เช่นพากิมสัน มีลักษณะอาการ คือมือเทาสั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวรางกายลําบาก มีอาการซึมเศรา นอนไม่หลับ หลงๆลืมๆ เป็นต้น ซึ่งเปนอาการอันเนื่องมาจากความผิดประติของระบบประสาท


โรคพากิมสัน มีงานศึกษาวิจัย พบวาโรคนี้เกิดจากการ ขาดสารสื่อประสาท ชื่อ โดปามีน โดยร่างกายต้องใช้ L-dopa เปนสารตั้งตนในการสังเคราะห โดปามีน และผลวิจัยพบวาเมล็ดหมามุยเป็นแหลงที่มีสาร L-dopa อยูสูงเมื่อเทียบกับพืชอื่น ในบางประเทศ เชน อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศมาเลเซีย มีการปลูกและจําหนายผลิตภัณฑ์จากเมล็ดหมามุยในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เรียกวา “velvet bean”  ระบุวามีสรรพคุณใชรักษาอาการสั่น ทําใหกล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ทําใหการนอนหลับ และเสริมสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น 

นอกจากนี้ในประเทศไนจีเรีย ยังมีการนําเมล็ดหมามุ่ยมากินเพื่อป้องกันพิษงูโดยหมอยาพื้นบานไนจีเรีย เชื่อวาการกลืนเมล็ดหมามุ่ยจํานวน 2 เมล็ด ใช้เป็นยาป้องกันพิษงูได้เป็นเวลา 1 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้มีรายงานสรรพคุณเมล็ดหมามุยในการต้านพิษงูเห่า นอกจากนี้ตําราอายุรเวท ของอินเดีย กลาววาเมล็ดหมามุ่ยเป็นยาบํารุงกําลัง กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศสําหรับบุรุษ ใช้ขับพยาธิ และลดการอักเสบได้อีกด้วย 

สําหรับสรรพคุณในตํารายาไทย ระบุวาใช้เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข, ขับปัสสาวะ, บํารุงประสาท รักษาโรคบุรุษ กระตุนกําหนัด(เสริมสมรรถภาพทางเพศ) และเป็นยาฝาดสมาน


องคประกอบทางเคมี

         ในเมล็ดหมามุย พบสาร L-DOPA (L-3,4-dihydroxyphenyl alanine) ประมาณ 7-10% ซึ่งเปนกรดอะ

มิโนที่พบมากที่สุดประมาณ 50% ของกรดอะมิโนทั้งหมดในเมล็ด

         สารกลุมอัลคาลอยด์ ที่พบหลายชนิด เชน mucunine, mucunadine prurienine, prurieninine,

prurienidine รวมทั้งอัลคาลอยด์ ในกลุม isoquinoline อีกหลายชนิด

         สารอื่นๆที่พบเชน vernolic acid, gallic acid, tryptamine, alkylamines, steroids, flavonoids,

coumarins, cardenolide



การศึกษาทางเภสัชวิทยา และคลินิก


ฤทธิ์ต้านพาร์กินสัน

         การใหผงเมล็ดหมามุยขนาด 30 กรัม (เทียบเทากับ L-dopa 1,000 มก.) ละลายน้ําดื่ม กับผู้ป่วย

พาร์กินสัน โดยใหครั้งเดียวตอสัปดาห์ พบวายาจากเมล็ดหมามุยมีประสิทธิภาพดีกวายามาตรฐาน

L-dopa/carbidopa โดยยาจากเมล็ดหมามุยออกฤทธิ์ได้เร็วกวา และยาวนานกวา โดยไมทําใหผู้ป่วยมีอาการ dyskinesia เพิ่มขึ้นเหมือนการใช้ยาสังเคราะห์ (อาการ dyskinesia คืออาการหยุกหยิก หมายถึง การ

เคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เนื่องมาจากการไดรับยาในกลุ่ม dopaminergics โดยเฉพาะยา levodopa)

         ยาจากเมล็ดหมามุ่ย สามารถใชเป็นยาเดี่ยวในการรักษาพาร์กิมสันได้ โดยไมต้องใชรวมกับยากลุ่ม

decarboxylase inhibitor (ยาที่ช่วยลดการทําลาย L-dopa ทําให้ L-dopa เขาสู่สมองเพิ่มขึ้น เช่นยา

carbidopa หรือยาอื่นๆ) อาจเนื่องจากในเมล็ดหมามุยมีสารกลุ่มนี้อยูแลว หรืออาจมีสารที่ชวยลดอาการ

dyskinesia ได้

         นอกจากนี้ยังมีรายงานวาผู้ป่วยพาร์กินสันเพศหญิงวัย 85 ปี ที่ไดรับสารสกัดหมามุยในขนาดเทียบเทา levodopa 600 มก.ตอวัน เป็นเวลา 1 เดือน มีสีผมเข้ม และดําขึ้นจากเดิมที่เปนสีขาว และค่อยๆมีบริเวณที่สีผมเข้มกวางเพิ่มขึ้นอีกด้วย


ฤทธิ์ตอสมรรถภาพทางเพศ

         สารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยที่สกัดดวยเมทานอลและสกัดต่อดวยน้ำ เมื่อทดสอบแบบ in vitro โดยตัดอวัยวะหนูมาทดสอบพบวาสารสกัดมีผลทําใหภาวะองคชาติไม่แข็งตัว (erectile dysfunction) มีอาการดีขึ้น โดยออกฤทธิ์ยับยั้ง Rho-kinase 2 (ROCK II) ได 37.55% ซึ่งมีผลตอการเพิ่มการแข็งตัว โดยทําใหเกิดการคลายตัวของกลามเนื้อเรียบ ส่วน cavernosum ทําให้มีเลือดเขาไปยังองคชาติเพิ่มขึ้น และทําใหเกิดแรงดันให้เกิดการแข็งตัวขององคชาติในบุรุษ


         สารสกัดทั้งตนมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ ชวยให้ผู้ที่มีตัวอสุจิน้อยมีโอกาสมีลูกได้มากขึ้น น้ำต้มมีฤทธิ์ลดการอักเสบของตอมลูกหมากในคน การป้อนหนูแรทเพศผู้ด้วยสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดหมามุยที่ความเข้มขน 200 มก./กก. ของน้ำหนักตัว วันละครั้ง เป็นเวลา 21 - 45 วัน สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของหนูได้ กลาวคือมีผลทําใหพฤติกรรมทางเพศของหนูเปลี่ยนไป โดยมีพฤติกรรมการจับคู่และการขึ้นคร่อมตัวเมียถี่ขึ้น และมีระยะเวลาในการเริ่มสอดใส่อวัยวะเพศครั้งแรกจนหลั่งน้ําเชื้อ(ejaculation latency, EL) เพิ่มมากขึ้น แตเมื่อนําผงบดของเมล็ดหมามุ่ยมาทดลองในหนูแรทเพศเมีย กลับมีผลทําใหพฤติกรรมทางเพศมีแนวโนมลดลง กลาวคือ มีพฤติกรรมการจับคูกับหนูตัวผูลดลง และปฏิเสธการรับ การผสมพันธุ์จากหนูตัวผู้ แสดงให้เห็นวาการรับประทานเมล็ดหมามุ่ยอาจใหผลแตกต่างในระหว่างเพศชายและหญิง


ในประเทศอินเดีย ทดสอบอาสาสมัครเพศชายที่มีภาวะจํานวนสเปิร์มน้อย และสเปิร์มมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยให้อาสาสมัครดื่มนมที่ผสมกับผงบดเมล็ดหมามุ่ยขนาด 5 กรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3เดือน พบว่าค่าความเข้มข้นของสเปิร์ม และการเคลื่อนไหวของสเปิร์มเพิ่มมากขึ้นอยางมีนัยสําคัญ และมีค่าเกือบเทียบเทากับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี ซึ่งแสดงใหเห็นวาเมล็ดหมามุยมีประสิทธิภาพในการชวยปรับปรุง

คุณภาพน้ำเชื้อให้ดีขึ้นได้


ฤทธิ์ตานเบาหวาน

         สารสกัดน้ำจากเมล็ดหมามุ่ย ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูปกติที่ได้รับกลูโคสได้ เมื่อให้สารสกัดขนาด 100 และ 200 มก./กก. สามารถลดระดับน้ำตาลจาก 127.5 เป็น 75.6 มก. ภายหลังไดรับสารสกัดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังลดระดับน้ำตาลในหนู เบาหวาน (ถูกเหนี่ยวนําดวย streptozotocin) สามารถลดระดับน้ำตาลจาก 240.5 เปน 90.6 มก% ภายหลังได้รับสารสกัด เป็นเวลา 21 วัน การให้สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดหมามุย ขนาด 5, 10, 20, 30, 40,50, 100 มก./กก. แก่หนูเบาหวาน (ถูกเหนี่ยวนําดวย alloxan) สามารถลด

ระดับน้ําตาลในเลือดได้ 18.6, 24.9, 30.8, 41.4, 49.7, 53.1,53.1 55.4 % ตามลําดับภายหลังได้รับสารสกัด 8 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน glibenclamide ขนาด 5 มก./กก. /วัน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 59.7%


ฤทธิ์ตานพิษงู

         ซีรัมอิมมูโนโกลบลูลิน (serum serum immunoglobulin) ของกระต่ายที่ได้จากการฉีดสารสกัดน้ำจากเมล็ดหมามุ่ย มีประสิทธิภาพในการยับยั้งพิษงูเห่าโดยพบว่าหนูที่ไดรับซีรัมกระต่าย โดยการฉีดเขาช่องท้องในขนาด3.4 กรัม/กก. ก่อนการไดรับพิษงู (ขนาด 0.75 มก./กก.ip) อัตราการรอดชีวิดของหนูจะสูงขึ้น โดยหนูที่ได้รับซีรัมอิมมูโนโกลบลูลิน ก่อนไดรับพิษงู เป็นเวลา 4, 24, 72 และ 168 ชม. มีอัตราการรอดชีวิต 0, 80, 90 และ100% ตามลําดับ



ฤทธิ์ลดการอักเสบ และขับปัสสาวะ

        สารสกัดเอทานอลส่วนเหนือดินของหมามุ่ย มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ที่อุ้งเทาหนู จากการกระตุ้นด้วย

คาราจีแนน และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในหนู เมื่อให้ในขนาด 200 และ 400 มก./กก. ทําใหอัตราสวนการขับ

Na+/K+ เปน 1.48 และ 1.45 ตามลําดับ ซึ่งใกล้เคียงกับยามาตรฐาน furosemide มีอัตราสวนการขับ 1.47



ฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ

         สารสกัดเอทิลอะซีเตตจากหมามุ่ยทั้งตน พบวามีฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีคา IC50 = 420

ug/ml เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน rutin (คา IC50 = 480 ug/ml) มีฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ superoxide

anion โดยมีคา IC50 = 180 ug/ml เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน quercetin (คา IC50 = 60 ug/ml)

         สารสกัดเมทานอลจากหมามุ่ยทั้งตน พบวามีฤทธิ์ Iron chelating โดยมีคา IC50 = 220 ug/ml เมื่อ

เทียบกับสารมาตรฐาน EDTA (คา IC50 = 65 ug/ml)


ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของไขมัน

          สารสกัดเมทานอลจากเมล็ดหมามุ่ย มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในหลอดทดลอง โดยมีคา IC50 = 217.25 ug/ml เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน L-ascorbic acid และ quercetin (มีคา IC50 = 41 และ 19.75 ug/ml ตามลําดับ)



ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

         สารสกัดเอทานอลสวนเหนือดินของหมามุ่ย เมื่อทดสอบดวยวิธี disc diffusion ในขนาด 20 มก/disc

พบวามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด คือ Staphylococcus saprophyticus, Shigella sonnie,

Salmonella typhi, Vibrio cholera, Streptococcus epidermidis, Shigella flexneri,

Staphylococcus aureus โดยมีขนาดโซนใส 10.76 – 15.55 มม.

         สารสกัดเมทานอลจากเมล็ดหมามุ่ย เมื่อทดสอบดวยวิธี disc diffusion ในขนาด 500 และ 750

ug/ml/disc พบวามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus pumillus 8241, Escherichia coli 5B, Vibrae chlolera

1353 และ 226101



ข้อควรระวังในการใชเมล็ดหมามุ่ย

          ขนจากฝัก ทําให้เกิดอาการระคายเคืองอยางแรง ทําให้คันรุนแรง เป็นผื่นแดง ปวดและบวมได้ หากถูกขนพิษของหมามุย ใหใช้ขาวเหนียวปั้นเปนก้อนคลึงให้นิ่ม แล้วนํามาถูบริเวณที่โดนเพื่อให้ขนของหมามุ่ยออกมา

         การกินเมล็ดหมามุ่ยมากเกินไป อาจทําให้เกิดอาการประสาทหลอน ปวดมวนท้อง คลื่นไส อาเจียน

หรือการกินเมล็ดที่ไมได้คั่ว ไมไดนึ่ง หรือไมสุก อาจทําใหเกิดพิษได้

         ไมควรกินเมล็ดหมามุ่ยรวมกับยาในกลุ่ม Monoamine oxidase inhibitor (MAOIs) ซึ่งเป็นยาต้าน

การซึมเศราเนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กันทําให้ความดันเพิ่มสูงได้ รวมทั้งไม่ควรกินรวมกับยา หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ตานการแข็งตัวของเลือด เชน กระเทียม แปะก๊วย เป็นตน เพราะอาจทําใหเลือดไหลหยุดยาก โดยเฉพาะในช่วงเขารับการผาตัด

          เมล็ดของหมามุ่ยมีสาร L-dopa หรือ Levo-3,4- dihydroxyphenylalanine อยูปริมาณสูง ซึ่งอาจ

มีผลตอสมองส่วนตางๆ ในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะการควบคุมการเคลื่อนไหว และอาจมีผลทําให้ความดันโลหิตต่ําลง การรับประทานในปริมาณที่มากอาจมีผลเสียตอรางกายได้


เอกสารอางอิง

1. พิชานันท์ ลีแกว. โรคหยอนสมรรถภาพทางเพศ. จุลสารขอมูลสมุนไพร. 2553:28;2-17.

2. สุภาภรณ์ ปีติพร บันทึกของแผนดิน 4 สมุนไพร ยากําลัง. พิมพ2ครั้งที่ 2. ปรมัตถ์ การพิมพ์:กรุงเทพมหานคร, 2554.

3. Aguiyia,JC, Igwehb AC, Egesiec UG, Leoncinid R. Studies on possible protection against snake venom

           using Mucuna pruriens protein immunization. Fitoterapia 1999:70; 21-24.

4. Arulkumar S, Sabesan M. The behavioral performance tests of Mucuna pruriens gold nanoparticles in

           the 1-methyl 4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine treated mouse model of parkinsonism.

            Asian Pacific Journal of Tropical Disease. 2012:2(1); S499-S502.

5. Bhaskar A, Vidhya VG, Ramya M. Hypoglycemic effect of Mucuna pruriens seed extract on normal and

           streptozotocin-diabetic rats. Fitoterapia 2008:79; 539–543.

6. Goswami SK, et al. Screening for Rho-kinase 2 inhibitory potential of Indian medicinal plants used in

           management of erectile dysfunction. Journal of Ethnopharmacology (2012),

           http://dx.doi.org/10.1016/j.jep.2012.07.045

7. Katzenschlager R, Evans A, Manson A, Patsalos PN, Ratnaraj N, Watt H, Timmermann L,Giessen R, Lees

           AJ. Mucuna pruriens in Parkinson’s disease: a double blind clinical and pharmacological study. J

           Neurol Neurosurg Psychiatry 2004;75:1672–1677.

8. Kumar DS, Muthu AK, Smith AA, Manavalan R. In vitro antioxidant activity of various extracts of whole

           plant of Mucuna pruriens (Linn.) Int J Pharm Tech Res. 2010:2(3):2063-2070.

9. Lieu CA, Kunselman AR, Manyam BV, Venkiteswaran K, Subramanian T. A water extract of Mucuna

           pruriens provides long-term amelioration of parkinsonism with reduced risk for dyskinesias.

           Parkinsonism and Related Disorders 2010:16; 458-465.

10. Majekodunmi SO, Oyagbemi AA, Umukoro S, Odeku OA. Evaluation of the anti-diabetic properties of

           Mucuna pruriens seed extract. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine 2011:4(8);632-636.

11. Misra L, Wagner H. Alkaloidal constituents of Mucuna pruriens seeds. Phytochemistry 2004:65(18);

           2565-2567.

12. Misra L, Wagner H. Extraction of bioactive principles from Mucuna pruriens seeds. Indian J Biochem

           Biophys 2007:44; 56-60.

13. Munhoz RP, Dare P, Teive HAG. Darkening of white hair in parkinson’s disease induced by levodopa

           rich Mucuna pruriens (velvet beans) extract powder. Parkinsonism & Related Disorders. 2012:18(2);

           S135-S136.

14. Rajeshwar Y, Gupta M, Mazumder UK. In vitro lipid peroxidation and antimicrobial activity of Mucuna

           pruriens seeds. IJPT 2005:4(1);32-35.

15. Scir A, Tanfania F, Bertoli E, Furlani E, NNadozieb H-O, Ceruttib H, Cortelazzob A, Binic L, Guerrantib R.

           The belonging of gpMuc, a glycoprotein from Mucuna pruriens seeds, to the Kunitz-type trypsin

           inhibitor family explains its direct anti-snake venom activity. Phytomedicine 2011:18; 887– 895

16. Singhala B, Lalkakaa J, Sankhlab C. Epidemiology and treatment of Parkinson’s disease in India

           Parkinsonism and Related Disorders 2003:9; S105–S109.

17. Suresh S, Prithiviraj E, Prakash S. Dose- and time-dependent effects of ethanolic extract of Mucuna pruriens

           Linn. seed on sexual behaviour of normal male rats. J Ethnopharmacology 2009:122(3); 497-501.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here