เหมือดโลด-Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill. - สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย

ข้อมูลสมุนไพรไทย ตำรับยาสมุนไพร วิธีการใช้สมุนไพร บทความสุขภาพ

สมุนไพรไทย

Lastest

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

2564-09-14

เหมือดโลด-Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.

 ชื่อพืช           เหมือดโลด

ชื่ออื่น          -

ชื่อวิทยาศาสตร์    Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.

ชื่อวงศ์          Euphorbiaceae


เหมือดโลด




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

           ไม้ พุ่ ม หรื อไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก เปลื อ กต้ น แตกเป็ น ร่ อ งลึ ก ตามยาว

ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึน้ หนาแน่น ใบเดีย่ ว เรียงเวียน

สลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร

ยาว 10-16 เซนติเมตร ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดง

หนาแน่น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ดอกแยกเพศ

อยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้ออกเป็นแท่งยาว มีหลายช่ออยู่ด้วยกัน เป็นช่อเชิงลด

เกสรเพศผู้มี 2 อัน ช่อดอกเพศเมียออกเป็นช่อเดี่ยวสั้น ๆ แบบช่อเชิงลด สั้น

กว่าช่อดอกเพศผู้ อยู่เป็นกระจุก 2-8 ดอก มีสีเหลืองอ่อน เกสรเพศเมียมีรังไข่

เหนือวงกลีบ ผลรูปไข่ แห้งแตกตามตะเข็บ 1-2 ด้าน มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง

ปกคลุม กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อแตก

ภายในมีเนื้อสีส้มแดง มี 1 เมล็ด เมล็ดรูปขอบขนาน พบตามป่าเต็งรัง

ป่าดิบแล้ง ป่าสน ป่าเบญจพรรณ

สรรพคุณ

           ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ลำต้น เข้ายาโรคกระเพาะอาหาร เข้ายากับ

ดูกข้าว ดูกไส ดูกหิน ดูกผี แตงแซง ส้มกบ ส้มมอดิน และพากส้มมอ

แก้ตัวเหลือง ตาเหลือง

          ตำรายาไทย ใช้เปลือกต้น มียางสีแดงใช้เป็นสีย้อม ปรุงเป็นยาขับลำไส้

และขับระดู แก้แน่นจุกเสียด เปลือกและเนื้อไม้สด เคี้ยวแก้ไข้

           ช่วงที่ออกดอก             พฤศจิกายน ถึง มกราคม

           ช่วงที่ออกผล กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม

Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here