ชื่อพืช ชะลูดช่อสั้น
ชื่ออื่น ตังตุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alyxia schlechteri H. Lev.
ชื่อวงศ์ Apocynaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็งขนาดเล็ก มีน้ำยางขาว เปลือกต้น
และกิ่งก้านสีเทา มีรูอากาศมาก ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ
ใบหนาแน่นช่วงบนของกิง่ รูปวงรีแกมขอบขนาน รูปใบหอกกลับ หรือรูปใบหอก
กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาเหนียว
ดอกช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ดอกย่อยหลายดอก
ขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
โคนหลอดสีเหลืองแกมส้ม มีกลิ่นหอม ผลสด รูปขอบขนาน คอดเป็นข้อ ๆ
ตามเมล็ด 2-3 ข้อ แต่ละข้อยาว 7.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยน
เป็นสีม่วงดำ มี 1-3 เมล็ด พบตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เหน็บชา แก้ตกขาว เข้ายา
แก้กระษัยเส้น แก้ปวดเมือ่ ยจากการทำงานหนัก เถา ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ
เปลือกต้น มีกลิ่นหอม ใช้ทำธูป
ตำรายาไทย เปลือกเถา รสหอมเย็น ขับผายลม แก้ปวดในท้อง ต้ม
เอาน้ำปรุงบุหรี่ให้มีกลิ่นหอมชวนสูบ และทำเป็นผง ปรุงเป็นเครื่องหอมอื่น ๆ
เช่น ธูปหอม น้ำอบ น้ำปรุง เป็นต้น ใบและผล แก้ไข้ร้อนใน กระสับกระส่าย
แก้สะอึก แก้ดีพิการ แก้คุดทะราด ดอก แก้พิษ ไข้เพ้อคลัง แก้สะอึก แก้ดีพิการ
แก้ลม ราก แก้ลม แก้พิษเสมหะ แก้พิษไข้ เนื้อต้น แก้ลม บำรุงหัวใจ
ขับผายลม แก้ปวดมวนท้อง และไซ้ท้อง
ช่วงที่ออกดอกและติดผล มีนาคม ถึง กรกฎาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น