ชื่อพืช มะกอก
ชื่ออื่น มะกอกบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spondias pinnata (L.f.) Kurz
ชื่อวงศ์ Anarcardiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น เปลือกสีเทา หนา เรียบ เปลือก ใบ และผล มีกลิ่นหอม ใบ
ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ชั้นเดียว เรียงแบบสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง
3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอก
แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก
สีขาวครีม ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ
สีขาว เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผลสด มีเนื้อฉ่ำน้ำ รูปไข่ กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร
ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมเขียว ถึงสีเหลืองอ่อน ประด้วยจุดสีเหลือง
และดำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดเดียว ใหญ่และแข็งมาก ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ พบขึ้น ตาม
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
สรรพคุณ
สรรพคุณ :
เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
ใบอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร
ตำรายาไทย ใช้ ผล เป็นยาฝาดสมาน แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้กระหายน้ำ
ทำให้ชุ่มคอ แก้ธาตุพิการ แก้โรคขาดแคลเซียม ผล ใบ และเปลือกลำต้น แก้ร้อนใน ช่วย
ให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หอบ บำรุงธาตุ และแก้บิด เปลือก
ลำต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว ช่วยสมานแผล มีกลิ่นหอม ฝาดสมานและเป็นยาเย็น ใช้ในโรค
ท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ แก้บิดปวดมวน ระงับอาเจียน ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน
แก้สะอึก เปลือกต้นและแก่น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบ แก้ปวดท้อง น้ำคั้นจากใบหยอด
แก้ปวดหู แก้หูอักเสบ ใบมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยว และฝาดสมาน เป็นผักจิ้ม และแต่งกลิ่น
อาหาร เมล็ด เผาไฟแช่น้ำดื่ม แก้ร้อนใน สุมแก้หอบ แก้สะอึก ราก รสฝาดเย็น แก้ร้อน
ใน กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ขับปัสสาวะ
ช่วงที่ออกดอกและติดผล ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น