ชื่อพืช มะกล่ำต้น
ชื่ออื่น มะกล่ำตาช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina Linn.
ชื่อวงศ์ Leguminosae - Mimosoidaea
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยนื ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบประกอบแบบขนนกสองชัน้ ปลายคู่ เรียงสลับ
ใบย่อยรูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 2-5.5 เซนติเมตร
แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม เรียบเกลี้ยง ดอกช่อ ช่อดอกแคบยาวรูปทรงกระบอก ดอกออก
ตามซอกใบบน ๆ หรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอกย่อย
ขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนอมครีม ดอกแก่เปลีย่ นเป็นสีสม้ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน ผลเป็นฝัก รูปแถบ กว้าง 8-12 มิลลิเมตร
ยาว 15-30 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อฝักแก่จะแตกสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียว
แน่ น เพื่ อ กระจายเมล็ ด มี ร อยคอดตามเมล็ ด ชั ด เจน เมล็ ด ค่ อ นข้ า งกลม แข็ ง
สีแดงเลือดนก หรือแดงส้ม ผิวมัน พบตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใบ ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยา
สมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด เมล็ดและใบ แก้ริดสีดวงทวาร เมล็ด
รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี
บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ เมล็ดใน
บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดง
ออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด
เนื้อไม้ ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ราก ใช้ขับเสมหะ
แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี
ช่วงที่ออกดอก กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน
ช่วงที่ออกผล พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น