ชื่อพืช เมื่อยขาว
ชื่ออื่น มะเมื่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum montanum Markgraf
ชื่อวงศ์ Gnetaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ บริเวณข้อพองบวม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง
ประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและ
เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ดอกออกเป็นช่อเชิงลด แตกแขนงมาก แยกเป็นช่อดอก
เพศผู้และเพศเมีย สร้างโคนหรือสตรอบิลัส เรียงเป็นชั้น ๆ โคนเพศผู้และโคน
เพศเมียแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้เป็นช่อเชิงลด แตกแขนง
ออกที่ปลายยอดหรือตามลำต้น แต่ละโคนมี 8-15 ชั้น แต่ละชั้นมีเกสรเพศผู้
8-25 อัน เรียงเป็นวงรอบข้อ โคนเพศเมีย แตกแขนง แต่ละโคนมี 6-14 ชั้น
แต่ละชั้นมี 1-8 เมล็ด มีขนเล็กน้อย เมล็ดรูปกระสวย ไม่มีผลห่อหุ้ม จะมีกลีบ
นุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่อยังอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีชมพูแดง พบตามป่าดิบแล้ง
สรรพคุณ
ยาพื้ น บ้ า นอี ส าน ใช้ ลำต้ น ผสมกั บ เถาเอ็ น อ่ อ น ต้ ม น้ำ ดื่ ม
แก้ปวดเมื่อย ต้มน้ำดื่มช่วยในการอยู่ไฟ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บวมพอง
ใช้ทำเชือก มีความเหนียวมาก ราก น้ำต้มรากกินแก้พิษบางชนิด และ
แก้ไข้มาลาเรีย เมล็ด ทำให้สุกรับประทานได้
ชาวเขาผ่าอีก้อ ใช้ ใบ ต้มน้ำชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ
ฝี หนอง ตุ่ม ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ช่วงที่ออกดอก มกราคม ถึง มีนาคม
ช่วงที่ออกผล กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น