ชื่อพืช โมกเครือ
ชื่ออื่น เครือไส้ตัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aganosma marginata (Roxb.) G.Don
ชื่อวงศ์ Apocynaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนือ้ แข็งขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่มมี อื เกาะ เถาอ่อนสีน้ำตาลแดง
เถาแก่สีเทา ตามลำต้นมีช่องอากาศกระจายทั่วไป ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวขุ่น
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 6.5-8.5 เซนติเมตร ยอดอ่อน
สีน้ำตาลแดง แผ่นใบเป็นคลืน่ สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ดอกออกเป็นช่อกระจะทีป่ ลาย
กิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบแยก ดอกย่อยสีขาวเกลี้ยง มีกลีบ
ดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือ
วงกลีบ ผลเป็นฝักคู่ เรียวยาว ทรงกลม ปลายแหลม กว้าง 0.5-1.2 เซนติเมตร
ยาว 30-50 เซนติเมตร เกลี้ยง เมื่อแห้งแตกตามยาวตะเข็บเดียว เมล็ดจำนวน
มากสีน้ำตาล แต่ละผลมี 35-62 เมล็ด มีขนสีขาวเป็นพูต่ ดิ อยูท่ ปี่ ลายเมล็ด พบตาม
ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ชายป่าดงดิบและป่าดิบแล้ง ริมสระน้ำ หนองบึง
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพืน้ บ้านอีสาน ใช้ ราก ต้มน้ำดืม่ แก้ตกขาว ถ่ายเป็นมูกเลือด
เป็นยาอายุวัฒนะ แก้โรคกระเพาะอาหาร เถา เข้ากับหัวข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม สำหรับ
สตรีอยู่ไฟหลังคลอดบุตร ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อนรับประทานเป็นอาหารได้
ตำรายาไทย เถา มีรสเฝื่อนฝาด ใช้ทาฝี แก้เมื่อยขบ แก้ผดผื่นคัน นำมาผสม
กับผลมะตูมอ่อน เถาสิงโต และว่านมหากาฬ ต้มน้ำดื่มรักษาโรคเบาหวาน เข้ายารักษา
ประดง แก้พิษภายใน ราก ต้มดื่มแก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไตและตับพิการ บำรุงกำลัง
ตอนฟื้นไข้ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย ขับระดู หรือผสมกับแก่นลั่นทม ต้มน้ำดื่ม
เป็นยาระบาย ยอด ใช้แก้ท้องเสีย ใบ แก้เมื่อยขบ เข้ายาทารักษาฝี และริดสีดวงทวาร
ช่วงที่ออกดอก มีนาคม ถึง เมษายน
ช่วงที่ออกผล เมษายน ถึง พฤษภาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น