ชื่อพืช โมกมัน
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia pubescens R. Br.
ชื่อวงศ์ Apocynaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกด้านในมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับ
ตั้งฉาก รูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ช่อดอก แบบช่อกระจุก
ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปกรวย กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน
เป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกรูปรี ปลายหลอดกลีบดอกด้านนอก มีขนสั้นนุ่ม
กระบังรอบทีต่ ดิ ตรงข้ามกลีบดอกยาว 3.5-5 มิลลิเมตร ติดแนบเกือบตลอดความยาว
ปลายจักซีฟ่ นั กระบังรอบทีต่ ดิ สลับกับกลีบดอก ยาว 1.5-3 มิลลิเมตร รูปแถบ ปลาย
แยกเป็น 2 แฉก เกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอก โผล่พ้นปากหลอด รังไข่อยู่เหนือ
วงกลีบ ผลแบบผลแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่เชื่อมติดกัน ห้อยลง กว้าง 1.2-1.5
เซนติเมตร ยาว 6.5-30 เซนติเมตร ผิวฝักเกลี้ยง ไม่มีรูอากาศ เมล็ดรูปแถบ
มีกระจุกขนที่ปลายด้านหนึ่ง พบตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
สรรพคุณ
ตำรายาพื้น บ้านอีสาน รากและเนื้อ ไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด
ตำรายาไทย เปลือกต้น รสขมร้อน ฝาดเมา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ
ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด
เชื้อคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด ใบ รสเย็น เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย แก้ตับพิการ
แก้ท้องมาน ดอก รสจืด เป็นยาระบาย แก้พรรดึก(ท้องผูก) ผล รสเมา แก้ฟันผุ
ฆ่าเชื้อรำมะนาด ราก รสร้อน รักษางูกัด แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง เนื้อไม้หรือแก่น
รสร้อนขม เป็นยาขับโลหิต กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี น้ำยาง รสเมาเบื่อ แก้บิด ใช้แก้
ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย
ช่วงที่ออกดอก เมษายน ถึง สิงหาคม
ช่วงที่ออกผล สิงหาคม ถึง ธันวาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น