ชื่อพืช ยอป่า
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda coreia Ham.
ชื่อวงศ์ Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งก้านมักคดงอ หักง่าย ช่อดอกและใบ
ออกหนาแน่นรวมกันที่ปลายกิ่ง ใบ เดี่ยว รูปรีหรือไข่กลับ เรียงตัวแบบตรงข้าม
สลับตั้งฉาก หลังใบสีเขียวเป็นมัน ใบแก่บาง เหนียว ขนาดของใบ 4-7 x 8-17
เซนติเมตร มีหใู บอยูร่ ะหว่างก้านใบ หลุดร่วงง่าย มักพบใบออกรวมกันอยูท่ ปี่ ลายกิง่
ดอกเป็นช่อ ออกรวมกันเป็นกลุ่มที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น
หลอด กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ปลายกลีบแหลม แยกเป็น 5 กลีบ
รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกหนาเมื่อดอกบานปลายกลีบแผ่กว้างออก เกสรตัวผู้สั้น
5 อัน ชูพ้นหลอดกลีบดอก ผลเป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว
เนื้อในอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ สีขาว ผลแก่สีดำ มีเมล็ดมาก สีน้ำตาล เมล็ดแบน 1 เมล็ด
ต่อหนึ่งผลย่อย พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใบ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ม้ามโต ใบสด
ตำพอกศีรษะฆ่าไข่เหา อังไฟแล้วนำมาปิดที่หน้าอกหน้าท้องแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ไข้
ผลอ่อน แก้คลื่นไส้อาเจียน ผลสุกงอม ขับระดูสตรี ขับลมในลำไส้ ผลสุกรับประทาน
ได้ เปลือกและเนื้อไม้ แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก่น ต้มหรือดองสุรา ดื่มขับเลือด
บำรุงเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับและฟอกโลหิตระดู แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับผายลม
ป้องกันบาดทะยักปากมดลูก ราก แก้เบาหวาน ใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีแดง ยอป่าเป็นไม้
มงคลของอีสาน ในการนำข้าวขึ้นยุ้งจะตัดกิ่งยอป่ามาค้ำยุ้งไว้ก่อนนำข้าวขึ้นยุ้ง
เพื่อเป็นสิริมงคล มีความหมายว่าให้ข้าวเพิ่มพูน
ช่วงที่ออกดอก เมษายน ถึง กรกฎาคม
ช่วงที่ออกผล พฤษภาคม ถึง สิงหาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น