ชื่อพืช พนมสวรรค์
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum paniculatum L.
ชื่อวงศ์ Lamiaceae (Labiatae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปฝ่ามือ รูป
ไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง 7-38 เซนติเมตร ยาว 4-40 เซนติเมตร ขอบใบ
หยักเว้าลึก 3-7 แฉก ปลายแฉกแหลม ดอกช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ออก
ที่ปลายยอด สีแดงหรือส้ม รูปเป็นชั้นคล้ายฉัตร กลีบดอก มี 5 กลีบ
เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยาวโค้งพ้นปากหลอดกลีบดอก
เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง มี 5 กลีบ
โคนเชื่อมกัน ผลสดรูปทรงกลม ขนาดเล็กสีเขียว ผลผนังชั้นในแข็ง มี 2-4 พู
เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-9 มิลลิเมตร เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแกมเขียว
หรือดำ มีเมล็ดเดียว แข็ง เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำ พบตามป่าเต็งรัง
สรรพคุณ
หมอยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ฝนทา แก้ฝี ประดงลม ประดงไฟ
ฝนกับน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง แก้ไข้ หรือต้มน้ำดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา บำรุงน้ำนม
ตำรายาไทย ใช้ ใบ ใช้ตำพอกแก้ทรวงอกอักเสบ รักษาอาการแน่น
หน้ า อก พอกแก้ ไ ข่ ดั น บวม และพอกแก้ ลู ก หนู ใ ต้ รั ก แร้ แก้ พิ ษ ฝี ด าษ
ใบสดตำพอก แก้โรคปวดข้อ และปวดประสาท ดอก แก้โลหิตในท้อง แก้พิษ
ฝีกาฬ แก้ตกเลือด แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ติดเชื้อ ราก แก้ไข้มาลาเรีย
ขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้เพื่อโลหิต (อาการไข้ และมีถ่ายเหลว อาเจียนเป็น
เลือด มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง) ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วร่าง เป็นยาถ่าย
ช่วงที่ออกดอก กรกฎาคม ถึง สิงหาคม
ช่วงที่ออกผล กันยายน ถึง ตุลาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น