ชื่อพืช พริกนายพราน
ชื่ออื่น พริกป่าใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana bufalina Lour.
ชื่อวงศ์ Apocynaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบบาง แผ่นใบรูปรีแคบ
แกมรูปไข่ ยาว 8-15 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจุก
ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ดอกย่อย 3-25 ดอกสีขาวแกมเหลืองอ่อน
รูปดอกเข็ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตัวผู้
มี 5 อัน ก้านเกสรสั้น อับเรณูรูปขอบขนาน ปลายเป็นติ่งแหลม ท่อเกสรตัว
เมียเรียวยาว 7 มิลลิเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 2 แฉก ผลแบบฝักคู่ โค้ง
รูปรีปลายเรียวแหลม คอดเว้าเป็นพูตื้นๆ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร
ยาว 9-10 เซนติเมตร ผลย่อยแตกแนวเดียว ผิวมันสีเขียว ผิวเกลี้ยง
มีเมล็ด 6-8 เมล็ด เมล็ดแก่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด พบตามป่าดงดิบแล้ง
ป่าละเมาะทั่วไป
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย
แก้ ต กขาว แก้ ไ อ แก้ เ จ็ บ คอ แก้ ไ ข้ ตำละเอี ย ดทาแก้ ฝี ฝนน้ำ ดื่ ม
แก้ไอเป็นเลือด
ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น รสเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน
ราก รสสุขุม แก้โรคลม ใช้ปรุงยาแก้โลหิตเป็นพิษเนื่องจากชอกช้ำ แก้ช้ำใน
รากผสมรากต่อไส้และรากหนามพุงดอ ฝนเหล้าดื่ม แก้ปวดท้อง
ช่วงที่ออกดอก กรกฎาคม ถึง กันยายน
ช่วงที่ออกผล ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น