ชื่อพืช สมอไทย
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz.
ชื่อวงศ์ Combretaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม
รูปไข่ถงึ รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 11-18 เซนติเมตร
แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามัน ดอกออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือ
ช่อแยกแขนง มี 3-5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มักจะออกพร้อม ๆ กับ
ใบอ่อน ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3-0.4 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี
10 อัน ยื่นพ้นหลอดกลีบเลี้ยง เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ผลแบบผลผนังชั้นใน
แข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง
หรือมีสันตื้น ๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง เมล็ดแข็ง
มี 1 เมล็ด รูปยาวรี พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ผล รสเปรี้ยวฝาด ขมชุม่ เป็นยาสุขมุ ผลอ่อนจะมีฤทธิ์เป็น
ยาระบาย และสมานลำไส้ ผลแก่จะมีฤทธิฝ์ าดสมาน ใช้อมกลัว้ คอแก้เจ็บคอ ออกฤทธิ์
ต่อปอด กระเพาะ และสมานลำไส้ ห้ามเลือดทั้งภายในและภายนอก เป็นยาละลาย
เสมหะ ขับเสมหะ ทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้หลอดลมอักเสบ คออักเสบ เสียงแหบ แก้ไอ
แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องผูก โรคท้องมาน แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด
ริดสีดวงทวาร เลือดออก แก้ท้องเสีย เป็นยาระบายรู้ถ่ายรู้ปิด แก้บิดเรื้อรัง
ปัสสาวะบ่อย และเป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง เป็นยาบำรุง
ขับน้ำเหลืองเสีย เปลือกต้น ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย เปลือกต้นและแก่น
แก้ท้องเสีย ดอก รักษาโรคบิด
ช่วงที่ออกดอก เมษายน ถึง มิถุนายน
ช่วงที่ออกผล กันยายน ถึง ธันวาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น