ชื่อพืช ข่อย
ชื่ออื่น -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour.
ชื่อวงศ์ Moraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ
กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ดอกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็น
ช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่
ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้เป็นกระจุกกลม มี 5-15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 6-10
มิลลิเมตร เกสรเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียออกเดี่ยว มีก้านยาว กลีบดอกสีเขียวปน
เหลือง ผลสด รูปกลม หรือรูปไข่ ขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียว
ผลแก่สีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ปลายผลมีก้านเกสรตัวเมียคล้ายเส้นด้าย
ติดอยู่ เมล็ดกลม สีขาวแกมเทา พบตามที่ลุ่ม ป่าเบญจพรรณทั่วไป และป่าละเมาะ
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้กิ่งสด ทุบใช้สีฟัน ทำให้เหงือกและฟันทน เปลือกต้น
นำมาต้มใส่เกลือให้เค็มใช้รกั ษาโรครำมะนาด แก้โรคฟัน รักษาฟันให้แข็งแรง แก้ปวดฟัน
ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง ใช้มวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก ต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล ราก
รักษาแผลเรื้อรัง แก้โรคคอตีบ เป็นส่วนผสมในยารักษากระดูก ปวดเส้นประสาทและ
ปวดเอว ฆ่าพยาธิ เปลือกราก บำรุงหัวใจ ใบ น้ำต้มแก้โรคบิด แก้ปวดประจำเดือน
ขับน้ำนม แก้บิด ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ผล บำรุงธาตุ แก้ลม แก้กระษัย ขับลม
จุกเสียด เป็นยาอายุวัฒนะ เมล็ด รสเมามันร้อน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ
เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้
ช่วงที่ออกดอก ธันวาคม ถึง มีนาคม
ช่วงที่ออกผล เมษายน ถึง พฤษภาคม
Credit และข้อมูลอ้างอิง : https://samoonprithaiherb.blogspot.com/p/credit-01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น